เลือกเคสอย่างไรให้ Macbook ไม่ร้อน ไม่พังเร็ว?

เคส Macbook ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญที่ช่วยปกป้องไม่ให้ตัวเครื่องได้รับการกระทบกระเทือน อีกทั้งยังช่วยซับแรงกระแทกที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติในระบบการทำงานได้ อย่างไรก็ดี หลายคนก็อาจมองว่า เคส Macbook นั้นอาจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ตัวเครื่องร้อน และทำให้อายุการใช้งานของ Macbook สั้นลง แต่หากยังจำเป็นต้องใช้งาน Macbook อยู่ เราควรจะเลือกเคสอย่างไรให้เหมาะสมและทำให้ Macbook ทำงานได้เป็นปกติ ไม่เสื่อมอายุไว ที่นี่มีคำตอบ!

อย่านำสิ่งของไปปิดช่องระบายความร้อนของ Macbook

ก่อนที่ตัดสินใจเลือกใช้งานเคส Macbook ทุกครั้ง สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดี คือ การทำความรู้จักพัดลมและบริเวณระบายความร้อนของ Macbook ก่อน ซึ่งแต่ละรุ่นนั้นจะมีช่องระบายความร้อนที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ช่องระบายความร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณหน้าจอและคีย์บอร์ด

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาอายุการใช้งานของ Macbook ให้นานที่สุด ขอแนะนำว่าอย่าใช้ตัวป้องกันคีย์บอร์ดที่เป็นซิลิโคน รวมไปถึงฟิล์มและอุปกรณ์ป้องกันบริเวณระบายความร้อนของ Macbook 

เลือกเคสมีร่องระบายความร้อน

นอกจากจะทำความรู้จักกับบริเวณระบายความร้อนของแต่ละรุ่นแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องเช็กให้ดีก่อนเลือกซื้อเคส Macbook คือ การเลือกดีไซน์ที่มีการออกแบบร่องระบายความร้อนให้เหมาะสม ซึ่งการมีร่องระบายความร้อนนี้จะช่วยให้ Macbook ระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความร้อนสะสมที่อาจทำให้ Macbook ร้อนจนอายุการใช้งานสั้นลงได้ นอกจากนี้ การเลือกเคส Macbook ยังควรเลือกเป็นวัสดุน้ำหนักเบา แต่มีความทนทาน อย่างพลาสติกประเภทต่าง ๆ แทนการใช้โลหะ เพราะอาจทำให้ความร้อนสะสมเพิ่มขึ้นได้ 

 

เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถเลือกเคส Macbook ให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับการใช้งานแล้ว อย่าลืมนำเทคนิคการเลือกเคสที่นำมาฝากนี้ไปปรับใช้ก่อนตัดสินใจซื้อด้วยนะ

 …

3 ตัวเต็งคว้าออสการ์ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมปี 2023

“เมื่อคุณมองข้ามกำแพงสูง 1 นิ้วที่ชื่อว่า ‘ซับไตเติล’ คุณจะได้ค้นพบกับหนังดีๆ อีกมากมาย” นี่คือหนึ่งในสปีชที่เปลี่ยนแปลงโลกภาพยนตร์ไปตลอดกาลของบงจุนโฮ ผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ที่พาภาพยนตร์เรื่อง Parasite ไปคว้ารางวัลใหญ่ Best Picture ของออสการ์ ทำให้นับตั้งแต่มันภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเริ่มได้รับความสนใจจากออสการ์มากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี 2022-2023 ก็เช่นเดียวกัน มีภาพยนตร์ภาษต่างประเทศมากมายที่กรีฑาทัพออกมาอย่างโดดเด่น แต่ 3 เรื่องที่จะเป็นตัวเต็งเข้าชิงมีดังต่อไปนี้

หนัง

Decision to Leave

Park Chan-wook คือชื่อที่ได้รับการยอมรับใน Academy อยู่แล้วนับตั้งแต่ “Sympathy for Mr. Vengeance” และ “Oldboy” อย่างไรก็ตาม “Decision to Leave” เปิดให้เขารู้จักกับผู้ชมมากขึ้นด้วยภาพยนตร์นัวร์ที่มีสไตล์เกี่ยวกับนักสืบบนเส้นทางของหญิงสาวผู้เคราะห์ร้ายที่อาจฆ่าสามีของเธอเอง ส่วนการเล่าเรื่องยังคงจัดจ้าน โดดเด่นด้วยสไตล์เฉียบขาดเช่นเดิม

 

Saint Omer

ในบรรดาผภาพยนตร์ตัวเต็งที่จะเข้าชิงทั้งหมด “Saint Omer” เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายและทะเยอทะยานยิ่งกว่าเรื่องไหน ๆ เนื่องจากมีฉากในห้องพิจารณาคดีที่กว้างขวางหลายฉากที่สร้างขึ้นจากบทพูดคนเดียวที่ทรงพลัง นั่นอาจทำให้ผู้ชมทางบ้านนั่งดูในห้องฉายภาพยนตร์ของ Academy ได้ยาก แต่คนอื่นๆ ที่เห็นในโรงละครอาจรู้สึกทึ่งกับมนต์สะกดที่ดื่มด่ำ

 

Corsage

อีกชื่อหนึ่งของ Cannes ที่สร้างจากเรื่องจริงยังเป็นช็อตที่ดีในหมวดหมู่นี้ เนื่องจาก IFC Films กำลังรณรงค์ให้รายการ “Corsage” ของออสเตรียซึ่งฉายรอบปฐมทัศน์ในแถบด้านข้าง Un Certain Regard ของเทศกาล ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนาในปี พ.ศ. 2420 ผลงานภาพยนตร์ย้อนยุคอันสลับซับซ้อนของ Marie Kreutzer นำแสดงโดย Vicky Krieps ในบทดัชเชสเอลิซาเบธ Amalie Eugenie ในบาวาเรีย จักรพรรดินีแห่งออสเตรียและสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีเมื่อเธออายุ 40 ปี และต่อสู้กับความแตกต่างของชีวิตราชวงศ์ ในขณะที่ Krieps เผชิญกับการต่อสู้ที่ยากลำบากเพื่อแย่งชิงสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม แต่ความซาบซึ้งในการแสดงของเธอทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับตำแหน่ง Best International Feature Film…

เพราะ “พื้นที่” ทำให้คนตกหลุมรักกันได้เสมอ

เคยสงสัยไหม? ทำไมคนในเมืองใหญ่จากโลกตะวันออกถึงมีแนวโน้มที่จะตกหลุมรักกันได้ตามถนนและซอกซอยต่าง ๆ ได้ง่ายกว่ากรุงเทพมหานครที่อัดแน่นไปด้วยความสะดวกสบายแบบครบครันอย่างบรรดาสารพัดห้างสรรพสินค้า

แม้ความรักจะก่อร่างสร้างตัวด้วยจังหวะและเวลาที่เหมาะสม แต่การออกแบบพื้นที่เมืองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนตกหลุมรัก พร้อมพัฒนาความโรแมนติกไปสู่ความรักที่ตามหาได้ไม่ยากนัก แล้วความรักกับพื้นที่เกี่ยวโยงกันด้วยปัจจัยใด ลองมาทำความรู้จัก Sense of Place ที่นำมาฝากเล่าสู่กันฟังในวันนี้กัน

หนัง2

 มอง Sense of Place ผ่านภาพยนตร์โรแมนติกอย่าง Midnight in Paris (2011)

“ปารีสตอนฝนตกโรแมนติกเสมอ” เป็นอีกหนึ่งวลีที่แฟนภาพยนตร์ของ Woody Allen อย่าง Midnight in Paris (2011) ต้องรู้จักมักคุ้นในฐานะวลีที่สร้างความหมายของความโรแมนติกให้กับทุกช่วงเวลาของปารีส 

อย่างไรก็ดี หากมองความโรแมนติกผ่านมุมมองเมืองก็จะเห็นได้ว่า หากมองข้ามเรื่องอาชญากรรมและความสกปรกของเมืองออกไป แท้จริงแล้ว ปารีสกลับเป็นเมืองแห่งศิลปะที่ได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของการจัดการเมืองที่ดีและมองเห็นถึง ‘ชีวิต’ ของคนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในจุดนี้เอง เมื่อคนสองคนรู้สึกว่าจังหวะชีวิตเอื้ออำนวย แน่นอนว่าความเป็นเมืองของปารีสก็ส่งให้พัฒนาความสัมพันธ์ได้อย่างง่ายดาย 

ทั้งการออกแบบทางเดินเพื่อให้คนเดินมากกว่าถนนสำหรับรถยนต์ ตลอดจนการเปิดพื้นที่กว้างตามฟุตพาธ รวมไปถึงพื้นที่สวนสาธารณะธรรมดาก็ล้วนแล้วแต่เปิดช่องว่างให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จัก หยอกเย้า และเปิดมิติใหม่ให้ความสัมพันธ์เดินหน้าต่อไปได้

หากลองมองในมุมกลับ กรุงเทพมหานครที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าที่แทบจะเหมือนกันทุกแห่ง ตลอดจนทางเท้าที่มาพร้อมขยะ มองไปด้านหน้าก็เจอเสาไฟฟ้า หรือถ้าหันไปด้านข้างก็จะพบเจอกับรถติดที่ยาวหลายกิโลเมตร และแม้แต่การหันไปมองแม่น้ำเจ้าพระยาก็อาจไม่ได้ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์เท่าไหร่จากกลิ่น สี และขยะที่ลอยเต็มแม่น้ำก็อาจไม่ได้ช่วยสร้างความโรแมนติกได้มากนัก

แน่นอนว่า หากพูดถึงวันฝนตกแล้ว “กรุงเทพฯ ก็ไม่สามารถโรแมนติกเสมอได้เหมือนกับปารีส” เพราะระบบการออกแบบและจัดการเมืองที่ทำให้น้ำท่วมก็อาจทำให้ความสัมพันธ์จมน้ำ และหลุดลอยหายไปในขณะเดินทางเพื่อกระชับความรู้สึก

 

จะเห็นได้ว่า “พื้นที่เมือง” ที่มาจากการออกแบบอย่างเข้าใจ พร้อมระบบการจัดการบริหารที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่ม Sense of Place เรื่อง “ความโรแมนติก” ให้กับชีวิตประจำวันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีดินเนอร์หรู หรือ ห้างสรรพสินค้ารายล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกแบบจำเจ

 …